วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการพูดในที่ชุมชน


นักพูดชั้นนำไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบัน  ย่อมมีวิธีการพูดของตนเอง  ซึ่งแต่ละแบบแต่ละวิธีก็จะแตกต่างกันไป  ผู้เขียนเองได้ศึกษาจากการอ่านหนังสือ วาทะ  วาที  ศาสตร์และศิลป์ทางการพูด  เขียนโดย  อาจารย์สุทธิชัย  ปัญญโรจน์  และจากประสบการณ์การเป็นพัฒนากรและนักทรัพยากรบุคคล  ทุกครั้งที่จะพูดต่อหน้าชุมชน  จะให้ความสำคัญกับการเตรียมคำพูด  โดยใช้สมุดบันทึกพกติดตัวตลอด  เมื่ออ่านเจอคำพูดที่น่าสนใจก็จะจดบันทึกไว้เป็นข้อมูล  ก่อนพูดต้องมีการเขียนโครงเรื่อง  ซ้อมพูด  แล้วแก้ไขจนเป็นที่น่าพอใจ  จึงจะนำไปพูด  ทำให้เกิดความมั่นใจ  เป็นธรรมชาติ  จะเห็นได้ว่าการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ซึ่งแต่ละคนจะมีวิธี  การคิด  การฝึก  การปฏิบัติที่แตกต่างกันไป จึงขอนำประสบการณ์เรื่องเทคนิคการพูดในที่ชุมชนมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
ขุมความรู้
                1.  เตรียมตัว  เตรียมใจทุกครั้งที่ขึ้นพูด  ต้องทำจิตใจให้สดชื่น  พักผ่อนให้เพียงพอจะส่งผลให้การพูดนั้นออกมาดี
                2.  เตรียมข้อมูลต่างๆ ให้พร้อม  เช่น  ข้อมูลผู้จัด  คนฟัง  ห้องบรรยาย  สถานที่
                3.  เตรียมเรื่องที่จะพูด  ต้องสามารถอธิบายได้ง่าย  โดยการสร้างโครงเรื่องเป็นขั้นตอน  3 ขั้นตอน  ประกอบด้วย คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุปจบ ขึ้นต้นต้องตื่นเต้น กลางต้องกลมกลื่น และสรุปจบต้องจับใจ
                4.  คำนำ  หรือการขึ้นต้นที่ดีนั้น  ต้องเร้าใจผู้ฟัง  เพื่อผู้ฟังจะได้ติดตาม  อาจจะขึ้นต้นด้วยการพาดหัวข่าว  บทกวี  คำพูดของคนที่มีชื่อเสียง  หรือขึ้นต้นด้วยอารมณ์ขัน
                5.  เนื้อเรื่อง  หรือการดำเนินเรื่อง  ต้องลำดับเรื่องที่พูดให้ดี  เช่น  การพูดตามลำดับของเหตุการณ์  เวลา  สถานที่  หรือจุดหมายของการพูด  แล้วใส่ถ้อยคำ  น้ำเสียง  ภาษา  ท่าทาง  สายตาให้เข้ากับเนื้อเรื่อง
                3.  สรุป  หรือการลงท้าย  ต้องทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ  การสรุปจบที่ดีต้องมีความหมายที่ชัดเจน  กะทัดรัด  สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและคำนำ  การสรุปจบที่ได้ผล  เช่น  ฝากให้ผู้ฟังคิดต่อ  จบแบบสรุปความ  จบแบบเรียกร้องหรือชักชวน  จบแบบคำคม  สุภาษิต  คำพังเพย
แก่นความรู้
1.  คำนำ  หรือการขึ้นต้นที่ดีนั้น  ต้องเร้าใจผู้ฟัง 
                2.  เนื้อเรื่อง  หรือการดำเนินเรื่อง  ต้องลำดับเรื่องที่พูดให้ดี 
                3.  สรุป  หรือการลงท้าย  ต้องทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ 
ความรู้และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1.             ศาสตร์และศิลป์ทางการพูด
2.             การพัฒนาบุคลิกภาพ
3.             การเป็นวิทยากร
เจ้าของความรู้  นางสาวทับทิม  แท่งคำ  นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ  ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี   

การเตรียมการศึกษาดูงานที่ดี



งานของกรมการพัฒนาชุมชน  เป็นงานที่จะต้อง  สอนให้รู้  ดูให้จำ  ทำให้ดู  ดังนั้นการศึกษาดูงานจึงเป็นกิจกรรมที่เราชาวพัฒนาชุมชนได้จัดขึ้นเป็นประจำ  โดยการพากลุ่มองค์กรชุมชน  ผู้นำ  ตลอดจนเครือข่ายของเราได้ไปศึกษาดูงานจุดที่ประสบผลสำเร็จเพื่อมาขับเคลื่อนงานในชุมชนของตนเอง  ปัญหาที่เราพบอยู่บ่อยๆคือการเตรียมการไม่พร้อมลืมโน่นลืมนี่  ผู้เขียนจึงขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องการเตรียมการไปศึกษาดูงานที่ดีค่ะ
  ขุมความรู้
1.              กำหนดสถานที่  จุดที่จะไปศึกษาดูงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
2.              ความพร้อมของพาหนะ  จะต้องใส่ใจในเรื่องสภาพความพร้อมของรถ  คนขับรถ  ไมค์  แอร์
3.              การมอบหมายงานให้แต่ละคนรับผิดชอบทั้งเจ้าหน้าที่โครงการและกลุ่มผู้เข้าอบรม  ใคร  ทำอะไร   ที่ไหน  เมื่อไหร่  อย่างไร  ประเด็นการดูงานควรจัดทำเป็นเอกสาร 
4.              แผนการเดินทาง  ไปที่ไหน  นอนที่ไหน  จุดรับประทานอาหาร  (กำหนดการให้ชัดเจนไม่ควรคลาดเคลื่อนมากนัก)
5.              ประสานวิทยากร  บอกถึงเรื่องที่เราอยากเรียนรู้
6.              เตรียมเอกสาร  เช่น  เอกสารข้อมูลเบื้องต้นของจุดที่จะศึกษาดูงานเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายศึกษาข้อมูลเป็นเบื้องต้น  เอกสารการเบิกจ่าย  ใบสำคัญรับเงิน  เพราะถ้าไม่เตรียมให้พร้อมจะกลับไปเซ็นต์ชื่อใหม่ก็ลำบาก
7.              เตรียมของที่ระลึกเพื่อมอบเป็นการแสดงน้ำใจให้กับจุดศึกษาดูงาน   
  แก่นความรู้
1.              กำหนดสถานที่ดูงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
2.              ประสานวิทยากรโดยกำหนดกรอบประเด็นที่อยากเรียนรู้
3.              มอบหมายหน้าที่ให้ชัดเจนว่าใครรับผิดชอบอะไร 
4.              เตรียมเอกสารให้พร้อม ในเรื่องเอกสารประกอบการศึกษาดูงาน  และเอกสารด้านการเงิน
  ความรู้  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง           
1.              หลักการประสานงาน
2.              ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
3.              หลักการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ชุมชน
4.              การเป็นวิทยากรกระบวนการ       
เจ้าของความรู้  นางศิรินุช   สูงสุด   นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
          ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี

บทบาทผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) อาสาพัฒนาชุมชน (อช.)















        
        อาสาพัฒนาชุมชน เป็นผู้นำชุมชนที่อาสาสมัครมาทำงานในชุมชนทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่พัฒนากรและร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนมานานกว่า 41 ปีแล้ว สามารถทำงานพัฒนาชุมชนร่วมกับพัฒนากรได้ทุกเรื่อง ทุกกิจกรรม และรู้ข้อมูล ปัญหาในชุมชนได้เป็นอย่างดี  แต่การทำงานยังมีปัญหา อุปสรรค และผู้นำ อช/อช ยังไม่เป็นที่รู้จักหรือยอมรับของคนในชุมชน ภาคี ได้อย่างองค์กรอื่นๆ เท่าที่ควร จากประสบการณ์ที่ได้เคยศึกษาวิจัยรูปแบบการดำเนินงานผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช) และอาสาสมัครพัฒนาชุมชน (อช) ในพื้นที่ 7จังหวัด ของ ศพช.เขต 3 ได้แนวทางการทำงานของ ผู้นำ อช./อช  ที่มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับของชุมชน หน่วยงานอื่นๆได้อย่างไร
    
1. บทบาทผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) อาสาพัฒนาชุมชน (อช.)
        1) มีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ตรงกับบทบาทหน้าที่ของตนเอง
          2) มีทีมงานและเครือข่ายทำงาน ผู้นำ อช./อช ภายในตำบล รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมร่วมกัน
          3) ประสานการทำงานกับหน่วยงาน/ภาคีการพัฒนาในชุมชนเป็นประจำ
          4) พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เช่น เข้ารับการอบรม ศึกษาดูงานที่เขาทำงานแล้วประสบความสำเร็จ
          5) ประชาสัมพันธ์ตนเองด้วยการแนะนำบทบาทหน้าที่ของตนเองทุกครั้งที่ร่วมกิจกรรมในชุมชน/หน่วยงานอื่น
2. บทบาทพัฒนากร
          1) วิธีการคัดเลือกผู้นำ อช./อช. โดยผ่านเวทีประชาคมหมู่บ้าน คัดเลือก อช./และประชาคม อช.ในการคัดเลือก ผู้นำ อช.ต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดและจริงจัง โปร่งใส เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน
          2) อบรมให้ความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่และภารกิจของ ผู้นำ อช./อช  และมอบภารกิจให้ชัดเจน
          3) สร้างแรงจูงใจแก่ผู้นำ เป็นพี่เลี้ยงทำงานอย่างใกล้ชิด เป็นที่ปรึกษา และเปิดโอกาสให้ผู้นำได้แสดงผลงานต่อชุมชน
         4) ประชาสัมพันธ์แนะนำบทบาท ภารกิจ ของผู้นำ อช/อช  ทุกครั้งในโอกาสต่างๆ
         5. ติดตาม ประเมินผลและถอดบทเรียน
แก่นความรู้ 
          1) การคัดเลือกผู้นำ อช./อช โดยผ่านเวทีประชาคมทุกครั้ง
          2) อบรมให้ความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่และภารกิจของผู้นำ อช./อช
          3) มีแผนการปฏิบัติงานของ ผู้นำ อช./อช
          4) ผู้นำ อช./อช ทำงานเป็นทีมและสร้างเครือข่ายการทำงาน
          5) มีการประสานงานในการทำงานทีดี
          6) ประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่และภารกิจของ ผู้นำ อช/อช เป็นประจำ
7) สร้างแรงจูงแก่ผู้นำ อช/อช เป็นพี่เลี้ยงและเปิดโอกาสให้ผู้นำได้แสดงผลงานต่อชุมชน
 
เจ้าขององค์ความรู้ นางกนกอร  โพธิ์สิงห์  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี

1. มิตรไมตรี... ใครๆก็ต้องการ

1.1 เริ่มต้นที่การยิ้มแย้มแจ่มใส อารมณ์ดี มีน้ำใจ
1.2 ถ้อยคำทักทาย หรือไถ่ถามทุกข์สุข เช่น "เหนื่อยไหม" หรือ "มีอะไรให้ช่วยได้บ้าง" "กลับบ้านยังไง"
1.3 พูดให้ติดปากไว้เสมอ นั่นก็คือ "สวัสดี" "ขอบคุณ" "ขอโทษ" และ "ช่วยทำให้หน่อยได้ไหม”

2. เข้าใจความรู้สึกคนอื่น ... เหมือนที่เข้าใจความรู้สึกของตัวคุณเอง

พูดอีกอย่างก็คือ "รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา" นั่นเอง คุณต้องรู้ไว้ตลอดเวลาว่า คุณเองต้องการได้รับการปฏิบัติอย่างไร ผู้อื่นเขาก็ต้องการเช่นนั้นเหมือนกัน เริ่มต้นที่การรักษามารยาทอันพึงปฏิบัติ
2.1 ถ้อยคำที่สุภาพ ไพเราะ
2.2 ไม่เข้าไปล่วงล้ำก้ำเกินในอาณาเขตความเป็นส่วนตัวของใคร
2.3ไม่รบกวนสมาธิในการทำงานของคนอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน ไม่ว่าจะเป็นการคุยโทรศัพท์เสียงดัง
ปิด-เปิดลิ้นชักหยิบจับของเสียงดังปึงปัง
กระแทกกระทั้นเก้าอี้ โต๊ะ หรือแฟ้มเอกสาร
ยืดหยุ่น อะลุ่มอล่วยกับเพื่อนร่วมงานบ้างตามความเหมาะสม เพราะบางคนก็มีอุบัติเหตุมาทำให้งานสะดุดได้บ้างอย่างสุดวิสัย
ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน เช่นในสถานการณ์ที่ทุกคนกำลังวุ่นกับงานชิ้นใหญ่ คุณจะดูไม่น่ารักเลย ถ้าหากว่าคุณจะทำเป็นเฉย

บนเส้นทางสู่ความสำเร็จทางด้านหน้าที่การงานนั้น
ส่วนที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งซึ่งสาวๆออฟฟิศรุ่นใหม่ไฟแรงทั้งหลายควรใส่ใจอย่างยิ่ง นอกเหนือจากความรู้ความชำนาญในการทำหน้าที่ของตน ตามตำแหน่งงานแล้ว นั่นคือการยอมรับสนับสนุนและส่งเสริมจากบุคลากรในทุกระดับงานในองค์กรของคุณ ... เริ่มต้นสร้างเสน่ห์ให้กับตนเองตามแนวทางที่แนะนำต่อไปนี้ ลองดู แล้วจะเห็นว่าไม่ช้าไม่นาน คุณจะกลายเป็นคนที่ใครๆก็อยากร่วมงานด้วย อยากช่วยเหลือ ทั้งยังเป็นที่ชื่นชมของคนทั้งออฟฟิศได้ โดยไม่ยากอะไรเลย
รู้จักการเอาใจเข้ามาใสใจเรา นั่นเองคุณต้องรู้ไว้ตลอดเวลาว่าคุณเองต้องการได้รับการปฏิบัติอย่างไร ผู้อื่นเขาก็ต้องการเช่นนั้นเหมือนกัน ข้อสำคัญก็ คือ คุณต้องไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน เช่นในสถานการณ์ที่ทุกคนวุ่นวายกับงานชิ้นใหญ่คุณจะไปดูไม่น่ารักเลยถ้าคุณนิ่งดูดาย

3. ใช้ความเป็นมืออาชีพของคุณให้เป็นประโยชน์

เสน่ห์ในการทำงานส่วนหนึ่งเกิดจากการแสดงออกถึงความเป็น มืออาชีพ ของคุณอย่าถูกที่ถูกทางเริ่มต้นที่การเตรียมพร้อมเสมอกับทุกสถานที่อาจเกิดขึ้นอาชีพในหน้าที่ของคุณจะช่วยสนับสนุนงานโดยรวมอย่างไรบ้าง นั้นคือให้เขาเห็นถึงประโยชน์ของความเก่งของคุณ
นอกจากนั้น เสน่ห์ของความเป็นมืออาชีพในงานยังต้องแสดงออกมาโดยการรู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการตกลงนัดหมายหรือคำมั่นสัญญา การสร้างเสน่ห์ในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรเลยเพียงแต่คุณลองทำตนเองให้มีความสดใสและแสดงให้เพื่อนร่วมงานเห็นถึงความเป็นมืออาชีพ

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีสร้างเสน่ห์ให้ตนเองในที่ทำงาน

สวัสดีค่ะ วันนี้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ขอแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่อง “วิธีสร้างเสน่ห์ให้ตนเองในที่ทำงาน” ซึ่งได้ศึกษาจากบทความของคุณประณม ถาวรเวช ผู้มีความรู้ในเรื่องของการพัฒนาบุคลิกภาพ และผู้สรุปได้ทดลองนำไปปฏิบัติดูทำใหตัวเราเองรู้สึกดีขึ้น และมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น จึงอยากให้พี่น้องชาวพัฒนาชุมชนได้ลองอ่านและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันดูนะคะ ภายใต้ภาวะการเมืองที่กำลังร้อนเราต้องหาวิธีผ่อนคลาย
อย่าเครียดนะคะ